นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Privacy Notice)

Privacy Poilcy

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Privacy Notice) สำหรับลูกค้า คู่ค้า ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

บริษัท แมงโก้ คอนซัลแตนท์ จำกัด (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “แมงโก้ หรือ เรา”) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) และมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า คู่ค้า ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (รวมเรียกว่า “ท่าน”) เพื่อให้ท่านเชื่อมั่นได้ว่า แมงโก้ จะให้ความคุ้มครองและปฎิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้สอดคล้องตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แมงโก้ จึงได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงให้ท่านได้ทราบรายละเอียดการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้เปิดเผยข้อมูล ลบ ตลอดจนทำลายข้อมูลส่วนบุคคล (รวมเรียกว่า“การประมวลผล”) ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้

   1. ขอบเขตและวัตถุประสงค์

  • บริษัท แมงโก้ คอนซัลแตนท์ จำกัด (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “แมงโก้ หรือ เรา”) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) และมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า คู่ค้า ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (รวมเรียกว่า “ท่าน”) เพื่อให้ท่านเชื่อมั่นได้ว่า แมงโก้ จะให้ความคุ้มครองและปฎิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้สอดคล้องตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แมงโก้ จึงได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงให้ท่านได้ทราบรายละเอียดการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้เปิดเผยข้อมูล ลบ ตลอดจนทำลายข้อมูลส่วนบุคคล (รวมเรียกว่า“การประมวลผล”) ซึ่งมีใจความสำคัญ ดังนี้

  • เพื่อการบริหารการจัดการ ปรับปรุง การพัฒนา และดำเนินการใดๆเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจ พัฒนาสินค้า และ/หรือบริการ และ เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของ แมงโก้ หรือของบุคคลอื่น สำหรับการวิเคราะห์ วิจัยข้อมูลที่ใช้สำหรับทางการตลาด (Marketing and Data Analysis) เช่น การแจ้งข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านทางอีเมล เอสเอ็มเอส เวปไซต์ แอปพลิเคชัน สื่อโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ ไดเร็กเมล เป็นต้น ตลอดจนการจัดทำมาตรการด้านความปลอดภัยสารสนเทศ เช่น การเข้าสู่ระบบ (Log in) เข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เป็นต้น เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย

  • เพื่อปฎิบัติตามกฎหมายและ กฎระเบียบ คำสั่ง ของผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมาย

  • เพื่อการบริหารจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของท่าน

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม แมงโก้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยการขอ สอบถาม จากตัวแทน/ท่าน หรือแหล่งข้อมูลอื่นที่เปิดเผยสาธารณะ เช่น เว็ปไซต์ ของหน่วยงานที่เปิดให้มีการค้นหาข้อมูล เป็นต้น

  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) หมายถึง นโยบาย ที่ แมงโก้ จัดทำเพื่อแจ้งให้เจ้า ของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงการประมวลผลข้อมูลของ แมงโก้ และรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดไว้


  • ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม เช่น ชื่อ-นามสกุล, วัน เดือน ปีเกิด, ที่อยู่, เลขบัตรประชาชน, รูปภาพ, ใบหน้า, ข้อมูลสุขภาพ, หมายเลขโทรศัพท์, e-mail, อาชีพ, ประวัติ ตำแหน่ง, อาชญากรรม การลงทะเบียนอบรม และช่องทางติดต่อสื่อสารอื่นๆ เป็นต้น โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. นี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ เป็นต้น การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะมีหลักการที่เข้มงวดกว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป โดยจะกระทำได้หากดำเนินการตามหลักการใดหลักการหนึ่ง เช่น ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้ง (Explicit Consent) จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล , เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพ ของบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เป็นต้น


  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่สำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล , ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ , แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทราบภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุ , อาจจัดให้ มีหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO) ร่วมกันได้เพื่อตรวจสอบการทำงาน ของตน เป็นต้น


  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดต่อกฎหมายหรือบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • คุกกี้ (Cookies) คือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งลงไปยังเว็บเบราว์เซอร์, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของท่านเพื่อทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและการตั้งค่าต่างๆ เช่นสถานะการเข้าใช้งานในปัจจุบันของท่าน ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเข้าใช้งานบนเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชั่นที่ท่านชื่นชอบ ได้อย่างต่อเนื่อง ให้ดูเพิ่มในรายละเอียด ”นโยบายการใช้คุกกี้”


3. การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมาย หากดำเนินการตามหลักการใด หลักการหนึ่ง ดังต่อไปนี้


3.1 การให้ความยินยอม (Consent )

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  • ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคค

  • มีแบบหรือข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจได้โดยง่าย และต้องไม่เป็นการหลอกลวง


  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่มีข้อจำกัดสิทธิ เช่น มีกฎหมายที่กำหนดให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไว้ก่อน


  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดต่อกฎหมายหรือบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • คุกกี้ (Cookies) คือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งลงไปยังเว็บเบราว์เซอร์, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของท่านเพื่อทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและการตั้งค่าต่างๆ เช่นสถานะการเข้าใช้งานในปัจจุบันของท่าน ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเข้าใช้งานบนเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชั่นที่ท่านชื่นชอบ ได้อย่างต่อเนื่อง ให้ดูเพิ่มในรายละเอียด ”นโยบายการใช้คุกกี้”


3.2 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ (Scientific or Historical Research) 

จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ , จดหมายเหตุเพื่อสาธารณะ , การศึกษาวิจัยหรือทำสถิติ


 3.3 ฐานประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest ) 

เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การเข้ารับบริการทาง การแพทย์ ณ โรงพยาบาล


 3.4 สัญญา (Contract)

เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญา เช่น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำสัญญาเช่าใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ ผู้ให้เช่าหรือให้บริการสามารถเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา

3.5 ภารกิจสาธารณะ (Public Task)

ประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ใน การใช้อำนาจรัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐจัดทำ Big Data เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร

3.6 ฐานประโยชน์ตามกฎหมาย (Legitimate Interest ) 

เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น


  3.7 ภาระผูกพันตามกฎหมาย (Legal Obligations) 

เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย


4. การส่งหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ  (Cross-border Personal Data Transfer) 

 ในบางกรณี แมงโก้ อาจจะมีการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ  ประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย/สัญญา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญเท่านั้น 

5. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   (Data Subject Right)

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีดังนี้


5.1 สิทธิที่จะได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล (ยกเว้นกรณีที่เจ้าของข้อมูลทราบรายละเอียดนั้นอยู่แล้ว เช่น เพื่อนำไปทำสัญญา หรือสมัครใช้บริการต่างๆ) โดยเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะทราบวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล, การนำไปใช้ หรือเผยแพร่, สิ่งที่ต้องการจัดเก็บ, ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ให้ข้อมูล

5.2 สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสามารถขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวในกรณีเกิดความไม่แน่ใจว่าตนเองได้ให้ความยินยอมไปหรือไม่ โดยสิทธิการเข้าถึงข้อมูลนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล และการใช้สิทธินั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น


5.3 สิทธิในการได้รับและโอนถ่ายข้อมูล (Right to data portability)

ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เช่น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายแรกได้ทำจัดทำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปในอยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าถึงได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูลนั้น ทำการส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ หรือจะขอให้ส่งไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่นโดยตรงก็สามารถทำได้ หากไม่ติดขัดทางวิธีการและเทคนิค โดยการใช้สิทธินั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น

5.4 สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)

เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ยกเว้นมีเหตุอันควรทางกฎหมายที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น

5.5 สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล (Right to erasure / Right to be forgotten)

หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบหรือทำลายข้อมูลนั้น หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งในทางเทคโนโลยีและค่าใช้จ่าย เพื่อให้เป็นไปตามคำขอนั้น

5.6 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to withdraw consent)

กรณีเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมในการใช้ข้อมูลไป ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจ ก็สามารถยกเลิกความยินยอมนั้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยการยกเลิกจะต้องไม่ขัดต่อข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมทางกฎหมาย หรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปก่อนหน้านี้

5.7 สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย เพราะมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้ในทางกฎหมาย หรือการเรียกร้องสิทธิ ก็สามารถทำได้


5.8 สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Right of rectification)


เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย


    6. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาดังนี้


  • บริษัทฯจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

  • ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะ บริษัทจะกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บตามความจำเป็นที่เหมาะสมในการทำงานของบริษั

  • เมื่อพ้นระยะเวลาการจัดเก็บรักษาหรือที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทฯจะลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว

7. มาตรการการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ กำหนดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการ สูญหาย เข้าถึง การใช้ ดัดแปลง เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบและขัดต่อกฎหมาย

8. การทบทวนและปรับปรุงนโยบาย

บริษัทฯ จะจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายฉบับนี้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ และจะประกาศนโยบายฯ ฉบับใหม่ผ่านทางเว็บไซต์ และ/หรือแจ้งให้ท่านทราบผ่านทางอีเมล์

  9. ช่องทางการติดต่อ

รายละเอียดผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ : บริษัท แมงโก้ คอนซัลแตนท์ จำกัด (Mango Consultants Co., Ltd)
สถานที่ติดต่อ: 555 อาคารรสาทาวเวอร์ 1 ชั้น 23 ยูนิต 2304 -1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ช่องทางการติดต่อ: โทร 02 – 123- 3900, 086-7738687 โทรสาร 02-9371610
https:// www.mangoconsultant.com

รายละเอียดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer)
ชื่อ : คุณ ชลธิชา ฮวดอุปัต (เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
สถานที่ติดต่อ: 555 อาคารรสาทาวเวอร์ 1 ชั้น 23 ยูนิต 2304 -1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ช่องทางการติดต่อ: โทร 02 – 123- 3900, 086-7738687 โทรสาร 02-9371610
อีเมล chonticha@mangoconsultant.com

Footer_icon1

บริษัทแมงโก้ คอนชัลแตนท์ จำกัด
555 อาคารรสา ทาวเวอร์ 1 ยูนิต 2304-1
ถนนพหล โยธิน แขวง,เขต จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

support content mango consultant.com

fb1
ig
yb
line

Useful Link

 Project Based

Latest News

About us

Course

© Mango 2024 | All Rights Reserved